หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
องค์การบริหารส่วนตำบล หนองหญ้าไทร ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
 

 
 
ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ อบต.หนองหญ้าไทร อ.สากเหล็ก จ.พิจิตร ค่ะ
 


การคัดแยกขยะและการจัดการขยะตำบลหนองหญ้าไทร
 
ประชาสัมพันธ์การคัดแยกขยะและการจัดการขยะตำบลหนองหญ้าไทร  
 

สถานการณ์ขยะในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหญ้าไทร ในปัจจุบันเริ่มเป็นปัญหามากขึ้นเรื่อยๆ สืบเนื่องจากจำนวนขยะที่มีมากขึ้น สาเหตุประการหนึ่ง คือ ประชาชนยังไม่มีการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง ทำให้ขยะที่จัดเก็บมีทั้งขยะเปียก ขยะแห้ง หรือแม้แต่ขยะอันตราย เช่น หลอดไฟ แบตเตอรี่มือถือ ถ่านไฟฉาย ฯลฯ ผลจากการไม่คัดแยกขยะก่อนทิ้ง ทำให้ขยะมีน้ำหนักมาก โดยเฉพาะขยะเปียกที่มีน้ำผสมอยู่  จากปัญหาดังกล่าว                                  
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหญ้าไทร จึงมีแนวคิดในการลดปริมาณขยะ ด้วยการขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนได้ร่วมกันลดปริมาณขยะด้วยวิธีการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง  ขอเชิญชวนประชาชนหันมาคัดแยกขยะก่อนทิ้ง เพื่อขับเคลื่อนการจัดการขยะมูลฝอย ประจำปี 2565 ด้วยการนำหลัก 3 ช มาใช้ ได้แก่ ใช้น้อย ใช้ซ้ำ และนำกลับมาใช้ใหม่ รวมทั้งรณรงค์สร้างจิตสำนึกให้ทุกภาคส่วนได้มีการคัดแยกขยะในครัวเรือน และในสำนักงาน ก่อนจะนำไปทิ้ง เพื่อความสะดวกต่อการนำไปกำจัดหรือนำไปใช้ประโยชน์ใหม่ และยังช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย โดยในแต่ละวันมีขยะเกิดขึ้นจากกิจวัตรประจำวันของทุกคน มากน้อยต่างกันไป จากปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในแต่ละวันมีประมาณ 0.5-1 กิโลกรัมต่อคน ถ้าคิดเป็นระดับชุมชนและหมู่บ้านแล้ว จะมีปริมาณขยะในแต่ละวันเป็นจำนวนมาก ซึ่งในปัจจุบันพบว่าเริ่มมีปัญหาเรื่องสถานที่ทิ้งขยะมากขึ้นแล้ว เนื่องจากหน่วยงานที่นำขยะไปทิ้งปฏิบัติไม่ถูกหลักสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้เคียง รวมทั้งเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และยังทำให้เกิดการประท้วงของประชาชนในพื้นที่มากขึ้นอีกด้วย การคัดแยกขยะ จึงถือเป็นอีกวิธีการที่สำคัญในการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม เกิดมลพิษต่อโลกน้อยลง การคัดแยกขยะเพื่อให้สะดวกแก่การนำไปกำจัด หรือนำไปใช้ประโยชน์ได้ใหม่ โดยทั่วไปแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทคือ
1.ขยะเศษอาหารหรือขยะที่เน่าเสียได้ เป็นขยะที่ย่อยสลายได้ง่าย มีความชื้นมาก ส่งกลิ่นเหม็นได้อย่างรวดเร็ว ขยะประเภทนี้กำจัดและนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยการหมักทำปุ๋ยใช้ในการเกษตรได้
2.ขยะรีไซเคิล หรือขยะยังใช้ได้ ขยะประเภทนี้บางส่วนสามารถแยกนำมาแปรรูปกลับมาใช้ใหม่ได้
3.ขยะพิษ/อันตราย ถือเป็นขยะอันตรายที่จำเป็นต้องแยกทิ้งต่างหาก เนื่องจากสมบัติทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ
4.ขยะที่ต้องทิ้ง เป็นขยะที่ไม่สามารถนำมารีไซเคิลได้ และไม่สามารถแยกเป็นประเภทต่างๆได้ขยะทั้ง3 ประเภทข้างต้น ทำให้ต้องทิ้งเพื่อให้รถมาเก็บขนไปทำลายหรือกำจัดต่อไป ถ้าเราทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของการคัดแยกขยะ ให้คิดว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ไม่ใช่เพื่อความเป็นระเบียบอย่างเดียวเพราะการแยกขยะในบ้านที่มีทั้งกระดาษ พลาสติก แก้วโลหะ เศษอาหารหรือแม้แต่ขยะมีพิษมีประโยชน์มากกว่าที่คิดเอาไว้เสียอีก
มาทำความรู้จักกันก่อนว่าขยะหลังจากนำมารีไซเคิลได้  จะสามารถนำไปทำเป็นอะไรได้บ้าง
1. ขยะประเภท กระป๋องอลูมิเนียม และกระป๋องเหล็ก  สามารถนำไปรีไซเคิลและผลิตเป็นกระป๋องอลูมิเนียม กระป๋องเหล็ก ชิ้นส่วนจักรยานยนต์ และอุปกรณ์ก่อสร้าง ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เป็นต้น
2. ขยะประเภทกระดาษหนังสือพิมพ์ นิตยสาร กล่องกระดาษ กล่องนม สามารถนำไปทำเป็นกล่องกระดาษที่มีความแข็งแรง กระดาษทิชชู เป็นตัน
3. เสื้อผ้า  เป็นเสื้อผ้ามือสอง
4. ขวดแก้วใส หรือสีชา  นำไปผลิตขวดใหม่ได้
5. ขวดแก้วสีอื่นๆ  นำไปผลิตเป็นพื้นกระเบื้อง
6. ขวดน้ำพลาสติก  นำไปผลิตเป็นผ้าพลาสติกได้
7. พลาสติกต่างๆ  นำไปผลิตพลาสติกที่ใช้ในการก่อสร้าง หรือพลาสติกที่ใช้แล้วทิ้ง หรือไม่ก็ผลิตเป็นปากกา
8. พลาสติกที่ใช้เป็นบรรจุภัณฑ์  นำไปผลิตพลาสติกที่ใช้ในการก่อสร้าง หรือพลาสติกที่ใช้แล้วทิ้ง หรือไม่ก็ผลิตเป็นปากกา
สิ่งที่ควรระวังเกี่ยวกับการทิ้งขยะ
การแยกขยะเป็นสิ่งที่ควรให้การสนับสนุนแต่ต้องทำความเข้าใจระหว่างผู้ทิ้งขยะกับผู้เก็บขยะด้วย
1. การเก็บขยะที่รีไซเคิลได้นั้นจะเก็บเฉพาะขยะที่สะอาด  ส่วนขยะที่สกปรกไม่สามารถรีไซเคิลได้ เช่น ขยะสด ขยะที่สามารถเผาได้ ขยะที่ไม่สามารถเผาได้ควรจะแยกสีถุงบรรจุขยะให้ชัดเจน
2. ขยะ ที่รีไซเคิลได้นั้นจะนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์นำกลับมาใช้ใหม่ ดังนั้นไม่ควรทิ้งขยะที่จะนำมารีไซเคิลได้ปะปนกัน แยกถุงทิ้งและแสดงหน้าถุงบรรจุให้ชัดเจนว่าเป็นขยะแบบไหน
3. ควรจะแยกวันเก็บขยะให้ชัดเจนว่าวันไหนจะเก็บขยะประเภทใด
วิธีการแยกขยะ
1. กระป๋อง  กระป๋องควรจะแยกประเภทว่าเป็นอลูมิเนียมหรือว่าเหล็กและควรล้างทำความสะอาดภายในให้เรียบร้อยก่อน
2. กระดาษ  กระดาษจะแยกเป็น 4 ประเภทหลักๆคือ
2.1 กระดาษหนังสือพิมพ์และใบปลิว
2.2 นิตยสาร
2.3 กล่องกระดาษ ควรแยกเอาส่วนที่เป็นโลหะออกให้หมด เช่น แม๊กเย็บกล่อง
2.4 กล่องนม ควรคลี่ออกและล้างให้สะอาดก่อนทิ้ง
3. เสื้อผ้า  เสื้อผ้าที่จะนำไปรีไซเคิล ควรเป็นเสื้อผ้าที่ไม่สกปรก แค่มีรอยขาดนิดหน่อยหรือเป็นรู กระดุมหลุด ฯลฯ
4. ขวด  ขวดควรแยกเป็นขวดใส ขวดสีชา และขวดสีอื่นๆ และควรล้างทำความสะอาดก่อนนำมาส่งควรแยกฝาที่เป็นโลหะทิ้งไปกับขยะที่ไม่สามารถเผาได้ ฝาพลาสติกทิ้งไปกับขวดพลาสติก ส่วนขวดที่แตกแล้วทิ้งไปกับขยะที่ไม่สามารถเผาได้
5. พลาสติกต่างๆ  ขวด พลาสติกควรจะล้างทำความสะอาดก่อนทิ้งพลาสติกบรรจุภัณฑ์ เฉพาะสีขาวควรล้างทำความสะอาดก่อนทิ้งถุงพลาสติก ขวดพลาสติก ควรล้างทำความสะอาดก่อนทิ้ง


ขยะอื่นๆ ที่ต้องผ่านกระบวนการก่อนนำกลับมาใช้ และที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้
1. ขยะที่สามารถเผาได้  เป็นประเภทขยะสด ขยะที่ไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ เช่น ของเล่น ตุ๊กตา หนังสัตว์ ผ้า แต่ควรแยกส่วนที่เป็นโลหะออกเสียก่อนขยะสด ควรรีดน้ำออกให้เหลือน้อยที่สุดและพันด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ ไม่ควรใส่ถุงพลาสติกแล้วนำมาทิ้ง ผ้าอ้อมที่ใช้แล้วควรห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ก่อนนำมาทิ้ง
2. ขยะที่ไม่สามารถเผาได้  แก้ว โลหะ เครื่องใช้ไฟฟ้า เตารีด หม้อตัมน้ำ ทิ่ปิ้งขนมปัง ที่เป่าผม โทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า วิทยุ เป็นตัน ข้อควรระวัง แก้ว มีด ของมีคมควรห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ก่อนทิ้ง   กระป๋องสเปรย์ควรเจาะรู 2 รูก่อนนำมาทิ้ง
3. ขยะที่มีขนาดใหญ่ เฟอร์นิเจอร์  เครื่องเสียง จักรยานยนต์เป็นตัน
4. ขยะเป็นพิษ ถ่านไฟฉาย หลอดไฟฟ้า ควรใส่ถุงพลาสติกก่อนนำมาทิ้ง ถ้าหลอดแตกให้ทิ้งเป็นขยะเผาไม่ได้
ผลกระทบต่อสุขภาพอันเกิดจากขยะพิษประเภทต่าง ๆ
ประเภทของสาร ผลิตภัณฑ์ที่พบ ผลต่อสุขภาพ
1. สารปรอท  หลอดฟลูออเรสเซนต์ ปวดศรีษะ ง่วงนอน อ่อนเพลีย หลอดนีออน ซึมเซา อารมณ์แปรปรวน จิตใจไม่สงบ กระจกส่องหน้า ประสาทหลอน สมองสับสน สมองอักเสบ
2. สารตะกั่ว  แบตเตอรี่รถยนต์ ปวดศรีษะ อ่อนเพลีย ซีดลง ปวดหลัง ยาฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืช ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ มีอาการทางสมอง ตะกอนสี หมึกพิมพ์ ฯลฯ ทำให้ความจำเสื่อม ชักกระตุกและหมดสติลง
3. สารแมงกานีส  ถ่านไฟฉาย ตะกอนสี ปวดศรีษะ ง่วงนอน จิตใจไม่สงบ เครื่องเคลือบดินเผา ประสาทหลอน เกิดตะคริวที่แขน ชา สมองสับสน สมองอักเสบ
4. สารแคดเมียม  ถ่านนาฬิกาควอตซ์ ทำให้เกิดโรคอิไต-อิไต อาการปวดในกระดูก
5. สารฟอสฟอรัส  ยาเบื่อหนู ตะกอนสี ฯลฯ เหงือกบวม เยื้อบุปากอักเสบ
6. สารเคมี สเปรย์ ยาย้อมผม ยาทาเล็บ เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง ประเภทอื่น ๆ ยาล้างเล็บ ยาฆ่าแมลง และเยื่อบุทางเดินหายใจ ปวดศรีษะ ยารักษาโรค ยากำจัดวัชพืช หายใจขัด เป็นลม ฯลฯ

ขั้นตอนการแยกขยะอย่างง่ายแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
          1) ขยะเศษอาหาร พืช ผัก ผลไม้ หรือที่แต่เดิมเรียกว่า ขยะเปียก ได้แก่ เศษอาหาร พืช ผัก เปลือก ผลไม้ อินทรียวัตถุที่ย่อยสลายเน่าเปื่อยง่าย มีความชื้นสูงและส่งกลิ่นเหม็นได้รวดเร็ว
          2) ขยะ ยังใช้ได้หรือเรียกว่าขยะรีไซเคิล หรือที่ แต่เดิมเรียกว่า ขยะแห้ง ได้แก่ พวก แก้ว กระดาษ โลหะ พลาสติก เศษผ้า ฯลฯ ซึ่งเราสามารถเลือกวัสดุที่ยังมีประโยชน์กลับมาใช้ใหม่ได้อีก
          3) ขยะ ที่มีพิษภัยอันตรายซึ่งเกิดจากบ้านเรือน ได้ตั้งถังสีเทาฝาสีส้ม ไว้สำหรับให้ประชาชนนำขยะ ที่พิษภัยอันตรายซึ่งเกิดจากบ้านเรือนมาทิ้ง โดยตั้งไว้ตามสถานีบริการน้ำมัน และสถานที่อื่น ๆ ซึ่งขยะพวกนี้ ได้แก่ หลอดไฟ และหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่เสียแล้ว แบตเตอรี่รถยนต์ และถ่านไฟฉายที่หมดอายุ กระป๋องยาฆ่าแมลง และยาปราบศัตรูพืช ภาชนะใส่แลกเกอร์ และทินเนอร์ ภาชนะใส่น้ำมันเครื่อง และน้ำมันเบรก น้ำยาทำความสะอาดสุขภัณฑ์ ยารักษาโรค ที่เสื่อมคุณภาพ ฯลฯ รวมทั้งได้จัดให้มีวันทิ้งของเหลือใช้ เพื่อให้ประชาชนนำขยะประเภทนี้มาทิ้ง จากนั้นก็จะจ้างบริษัทเอกชนนำไปทำลายอย่างถูกหลักวิชาการต่อไป

วิธีการลดขยะได้ด้วย 4 Rs
ปัญหาขยะจะหมดไปด้วยจิตสำนึกไทยรีไซเคิล
1. Reduce ลด การใช้ ลดการบริโภคสินค้าที่ฟุ่มเฟือย ใช้อย่างประหยัด และใช้เท่าที่จำเป็น เช่น ทำอาหารให้พอดีรับประทาน เลือกซื้อสินค้าที่ไม่บรรจุห่อหลายชั้น ใช้ผ้าเช็ดหน้า แทนกระดาษทิชชู พกถุงผ้าไปตลาด
2. Repair การซ่อมแซม การซ่อมแซมวัสดุสิ่งของที่ชำรุด ให้อยู่ในสภาพที่ดีใช้งานได้นาน ไม่ต้องทิ้งเป็นขยะหรือต้องสิ้นเปลืองซื้อใหม่
3. Reuse การใช้ซ้ำ การนำสิ่งของที่ใช้แล้วมาใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่า เช่น ขวดแก้วนำไปล้างไว้ใส่น้ำดื่ม
4. Recycle การ นำกลับมาใช้ใหม่ การนำขยะมาแปรรูป เพื่อนำกลับมาใช่ใหม่ทำให้ไม่ต้องนำทรัพยากรธรรมชาติมาผลิตสิ่งของต่าง ๆ แต่ใช้ขยะเป็นวัตถุดิบทดแทนในการผลิตสิ่งของต่าง ๆ

แนวทางการใช้ประโยชน์จากวัสดุรีไซเคิล
โดย ทั่วไปการแยกขยะที่เกิดขึ้นจากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นชุมชน โรงเรียน ตลาดโรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า และสถานที่อื่น ๆ นั้นแยกได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. ขยะเศษอาหาร แยกเพื่อนำไปกำจัดโดยวิธีปุ๋ยหมัก
2. ขยะ ยังใช้ได้ หรือขยะรีไซเคิลแยกเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ใช้ซ้ำ โดยการนำกลับเข้าสู่ขบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ การนำกลับมาใช้ใหม่ หรือรีไซเคิล คือ การนำขยะหรือวัสดุที่ใช้แล้ว มาผ่านกระบวนการผลิตเป็นสินค้าใหม่ โดยโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งมีขบวนการผลิต 4 ขั้น ตอน ได้แก่ การรวบรวม การแยกวัสดุแต่ละชนิดออกจากกัน การผลิตหรือปรับปรุง และสุดท้าย การนำมาใช้ประโยชน์ โดยในส่วนของขั้นตอนการผลิต นั้นวัสดุพวกแก้ว กระดาษ พลาสติก และโลหะ จะผ่านกรรมวิธีการผลิตที่แตกต่างกัน
3. ขยะพิษ แยกเพื่อรวบรวมส่งกำจัดด้วยวิธีที่เหมาะสม อาจใช้ได้ทั้งวิธีการฝังกลบโดยวิธีพิเศษ และการเผาหลัง จากวัสดุผ่านกระบวนการผลิต จะได้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ จากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นตอนการนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป โดยจะพบสัญลักษณ์รีไซเคิล ปรากฏอยู่บนผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิลทุกชิ้น
การนำกลับมาใช้ใหม่ การ นำขยะมาแปรรูป เพื่อนำกลับมาใช่ใหม่ทำให้ไม่ต้องนำทรัพยากรธรรมชาติมาผลิตสิ่งของต่าง ๆ แต่ใช้ขยะเป็นวัตถุดิบทดแทนในการผลิตสิ่งของต่าง ๆ

 

ข่าว ณ. วันที่ 19 มิ.ย. 2566 เวลา 07.53 น. โดย คุณ สุรีย์มาศ ดาวเรือง

ผู้เข้าชม 114 ท่าน

 
 
 
 
คลิกที่ภาพเพื่อขยาย

ลำดับภาพที่ 1/6

ลำดับภาพที่ 2/6

ลำดับภาพที่ 3/6

ลำดับภาพที่ 4/6

ลำดับภาพที่ 5/6

ลำดับภาพที่ 6/6
<<
>>
X
 
 
 
 
 
 
 

รับเรื่องร้องเรียน
โทร : 056-619-706